โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ IB

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ Infectious Bronchitis (IB)        ในไก่ที่อายุน้อยกว่า  4 สัปดาห์ มักจะพบว่าเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (จาม,ไอ และหายใจลำบาก)  โดยจะพบว่าไก่มีอาการซึม นอนเกาะกลุ่มอยู่รอบ...

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ Infectious Bronchitis (IB) 

     ในไก่ที่อายุน้อยกว่า  4 สัปดาห์ มักจะพบว่าเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (จาม,ไอ และหายใจลำบาก)  โดยจะพบว่าไก่มีอาการซึม นอนเกาะกลุ่มอยู่รอบ ๆ กก และมีการอักเสบของช่องจมูกและเยื่อตาขาว อัตราการตายอาจสูงถึง 100%  การตายในไก่ที่มีอายุน้อยนั้น โดยทั่วไปจะไม่มีนัยสำคัญ หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อต่าง ๆ ร่วมด้วย

     จากศึกษาในกรณีดังกล่าวจะ พบการอักเสบแบบปานกลางถึงรุนแรงในส่วนของผนังเยื่อบุทางเดินหายใจ ส่วนต้น เป็นผลทำให้เกิดการหนาตัวของผนังเยื่อบุทางเดินหายใจ (ภาพที่ 1)

                                 

                       ภาพที่ 1 การหนาตัว และอัดแน่นของผนังเยื่อบุทางเดินหายใจ

     ในไก่ระยะไข่ที่ติดเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ จะพบการอักเสบของรังไข่  และพบลักษณะที่ผิดปกติของท่อนำไข่ โดยส่วนที่ได้รับผลกระทบคือท่อนำไข่ส่วนกลาง และส่วนท้ายที่จะทำหน้าที่ในการสร้างเมือกเคลือบ พบการฝ่อของท่อนำไข่ พบถุงน้ำ และการคงค้างของไข่แดง หรือพบไข่ในช่องท้อง ซึ่งเรียกว่า internal layer (ภาพที่ 2)

                             

                ภาพที่ 2 การคงค้างของไข่แดง หรือพบไข่ในช่องท้อง หรือเรียกว่า Internal layer

      ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโรคนี้คือการลดลงของผลผลิตไข่ โดยพบจำนวนของไข่ที่ผิดปกติมีเพิ่มมากขึ้น และไข่สีซีด หรือไข่ที่ไม่มีเปลือก และไข่ขาวเป็นน้ำ  (ภาพที่ 3)

                           

ภาพที่ 3 ไข่ที่มีรูปร่างผิดปกติ และไข่สีซีด

     โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (IB) มีสาเหตุจากโคโรนาไวรัส ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือความหลากหลายในการเป็นแอนติเจน และสิ่งนี้จึงทำให้มีการค้นพบเชื้อหลากหลายซีโรไทป์ (Massachusetts, Arkansas 99, Connecticut, O72 และซีโรไทป์อื่น ๆ) บ่อยครั้งที่พบว่าการติดเชื้อมีความซับซ้อนจากเชื้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่  

E. coli, Mycoplasma gallisepticum , เชื้อไวรัสกล่องเสียงอักเสบ และเชื้อชนิดอื่น ๆ

     เชื้อ IB สเตรนสายพันธุ์ที่ทำให้ไตเสื่อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบของไตอย่างรุนแรง

4) โดยพบการอักเสบในส่วนของท่อและเนื้อไต (ภาพที่ 5) โดยมียูเรตตกค้างอยู่ในท่อไต และแทรกอยู่ตามเนื้อไต การเสียเลือดทำให้เพิ่มอัตราการตายได้ ในสภาวะธรรมชาติจะพบปัญหาเฉพาะในไก่ตัวเมียระยะไข่เท่านั้น ไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะไวรับต่อการติดเชื้อ แม้ว่าจะทำวัคซีนแล้วยังสามารถพบปัญหาโรคนี้ได้

                               

ภาพที่ 4 การอักเสบอย่างรุนแรงของไต

ภาพที่ 5 ภาพความเสียหายของเนื้อตาย 

     วิธีการตรวจเช็คมีหลากหลายวิธีที่นิยมใช้ในการวินิจฉัย (VN , ELISA และวิธีอื่น ๆ ) โดยปัจจุบัน PCR เป็นวิธีที่สามารถแยกซีโรไทป์ได้อย่างรวดเร็ว ควรจะมีการแยกวินิจฉัยแยกโรคหลอดลมอักเสบติดต่อออกจากโรคในทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น นิวคาสเซิล กล่องเสียงอักเสบ และโรคหวัดหน้าบวม การทำวัคซีนโดยใช้วัคซีนเชื้อเป็นหรือเชื้อตายสามารถคุ้มโรคได้เฉพาะสเตรนที่เกี่ยวข้องในการให้เท่านั้น

(ที่มา: "Diseases of poultry - A colour atlas" - Ivan Dinev & CEVA Santé Animal, 2010)

กลับสู่ด้านบน