โครงการสนับสนุนเพื่อการสงเคราะห์

ซีวากับโครงการรณรงค์เพื่อกำจัดโรค Sleeping Sickness, “SOS” (The Stamp Out Sleeping Sickness)

การรณรงค์เพื่อกำจัดโรค Sleeping Sickness (SOS = The Stamp Out Sleeping Sickness) เป็นการทำงานร่วมกันของซีวากับหน่วยงานสาธารณสุขของเอกชน ที่เมืองแคมปาลา,ประเทศอูกานดา เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2549 การร่วมมือกันในครั้งนี้ต้องเป็นไปอย่างเร่งด่วน เนื่องมาจากมีรายงานพบผู้ป่วยด้วยโรคทริปพาโนโซมแบบ Human African Trypanosomiasis (HAT) 2 สเตรนร่วมกัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรค Sleeping Sickness ในหลายตำบลทางตอนเหนือของประเทศอูกานดา

การรณรงค์เพื่อกำจัดโรคนี้จึงเริ่มต้นด้วยกการอุปถัมภ์การรักษาโรคนี้ในฝูง วัว-ควาย จำนวน 250,000 ตัว ที่เลี้ยงอยู่ใน 5 ตำบล คือ เอแบค (Apac),โดโกโล (Dokolo),กาเบอราไมโด (Kaberamaido),ลิรา (Lira) และ อโมลเทาร์ (Amolatar) โดยการฉีดยาค่าเชื้อโรคทริปพาโนโซมให้กับฝูงวัวดังกล่าวตัวละหนึ่งเข็ม และสเปรย์ยาฆ่าแมลงซ้ำโดยเน้นที่บริเวณขาและท้องของวัว ซึ่งแมลงปีกแข็งชอบไปเกาะอยู่ เพื่อช่วยป้องกันการกลับมาติดโรคใหม่ในฝูง

โครงการ SOS เพื่อรณรงค์การกำจัดโรคดังกล่าวได้นำความสำเร็จอย่างดีในเรื่องดังต่อไปนี้
1. การป้องกันการรวมตัวกันของการเกิดโรค Sleeping Sickness ทั้ง 2 รูปแบบที่มีแมลงเป็นพาหะ
2. การลดจำนวนผู้ป่วยที่พบลงในท้องที่ที่ได้รับการรักษา
3. การริเริ่มการนำเวชภัณฑ์และการบริการทางสัตวแพทย์เข้ามาช่วยในการรักษาโรค
4.การปรับปรุงฟื้นฟูสุขภาพของฝูงวัว-ควายและชาวบ้านที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
ถ้าท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาชมที่ SOS website และข้อมูลล่าสุดรายงานได้จากที่ last Press Release 

ซีวากับการเป็นสมาชิก GALVmed
กลุ่มพันธมิตรของซีวา เช่น หน่วยงานสากลจากชุมชน,ประชาคม,นักวิจัยหลายแห่ง ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยากจน ซีวาได้ถือคำมั่นสัญญาในการเป็นสมาชิกของ GALVmed, ซึ่งเป็นองค์กรสากลเพื่อสาธารณกุศลโดยไม่หวังผลกำไร,เป็นองค์กรเอกชน, มีรัฐบาลให้การร่วมมือสนับสนุน และได้รับเงินบริจาคจากมูลนิธิ Bill

ในทุกประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น ซีวามีความตั้งใจที่จะช่วยถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ ทางเทคนิค-ความเข้าใจ ผ่านองค์กรสาธารณประโยชน์เหล่านั้น เพื่อยกระดับการป้องกันโรคในปศุสัตว์,รักษาชีวิตประชากร ด้วยการมีวัคซีนป้องกันโรคที่ใช้ได้ผล การวินิจฉัยโรค และเวชภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ แม้ว่าเกษตรกรท่านนั้นจะยากจนเพียงใด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถดูได้จาก GALVmed website

กลับสู่ด้านบน