โรคกัมโบโร ( Gumboro หรือ Infectious Bursal Disease s )        โรคกัมโบโร เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วในไก่ ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ และฝ่อของต่อมเบอร์ซ่า เกิดการบวมของเนื้อไตในระดับต่าง...

 โรคกัมโบโร(Gumboro หรือ Infectious Bursal Diseases) 

     โรคกัมโบโร เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วในไก่ ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ และฝ่อของต่อมเบอร์ซ่า เกิดการบวมของเนื้อไตในระดับต่าง ๆ และกดการสร้างภูมิคุ้มกัน มักพบอาการทางคลินิกในไก่ที่อายุมากกว่า 3 สัปดาห์ โดยลักษณะภายนอกที่พบจะเห็นว่าขนไก่ที่อยู่รอบๆ รูทวารจะเต็มไปด้วยมูลไก่ และคราบยูเรต (ภาพที่ 1)

 

ภาพที่ 1 แสดงขนไก่รอบๆ บริเวณรูทวารไก่ที่เต็มไปด้วยคราบมูลไก่และยูเรต

     ช่วงอายุที่พบอาการและอัตราการตายสูงนั้นอยู่ที่อายุ 3-6 สัปดาห์ โรคกัมโบโรสามารถก่อปัญหาได้ตราบใดที่ยังคงมีการทำหน้าที่ของต่อมเบอร์ซ่า (อาจนานถึง 16 สัปดาห์) ในไก่ที่อายุน้อยกว่า 3 สัปดาห์ การพบปัญหาโรคกัมโบโรนั้นจะเป็นแบบแสดงไม่แสดงอาการ (subclinical) แต่ความเสียหายของต่อมเบอร์ซ่าทำให้เกิดภาวะกดการสร้างภูมิคุ้มกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร ซึม ขนฟูโดยจะเห็นได้ชัดบริเวณส่วนหัวและคอ(ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 ไก่แสดงอาการซึมและขนบริเวณหัวและคอฟู

     การติดเชื้อโรคกัมโบโรในธรรมชาตินั้นส่วนมากพบในไก่ ส่วนในไก่งวงและเป็ดจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ (subclinical) ไม่พบภาวะกดการสร้างภูมิคุ้มกัน การแยกเชื้อไวรัสในไก่งวงส่วนใหญ่จะให้ผลทางซีรัมวิทยาแตกต่างจากในไก่ ในพื้นที่ที่เคยพบปัญหาโรคกัมโบโรมาก่อนมีโอกาสที่โรคจะกลับมาก่อปัญหาอีกได้ โดยมักจะพบว่าเป็นการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ไก่ที่ตายจะพบการขาดน้ำ บ่อยครั้งพบเลือดออกที่ส่วนกล้ามเนื้อหน้าอก ต้นขา และหน้าท้อง (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 พบเลือดออกที่กล้ามเนื้ออก ต้นขา และหน้าท้อง

     เชื้อไวรัสโรคกัมโบโรนั้นจัดอยู่ในกลุ่มสมาชิกของเบอร์น่าไวรัสซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส โดยแบ่งออกเป็น 2 ซีโรไทป์ แต่พบว่าเพียงแค่ซีโรไทป์ 1 เท่านั้นที่ก่อให้เกิดปัญหา

     เชื้อไวรัสมีความทนทานค่อนข้างสูงต่อยาฆ่าเชื้อชนิดต่าง ๆ และมีความคงตัวสูงในสภาพแวดล้อมจากข้อมูลเชื้อไวรัสสามารถคงตัวในพื้นดินอยู่ได้นานเป็นเดือนส่วนในน้ำ อาหารสัตว์และในมูลสัตว์เชื้อสามารถอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ (ภาพที่ 4)

     ระยะฟักตัวของเชื้อค่อนข้างสั้น โดยเริ่มพบอาการภายหลังได้รับเชื้อ 2-3 วัน  วิการที่ต่อมเบอร์ซ่าจะมีการพัฒนา โดยในช่วงแรกพบว่าต่อมเบอร์ซามีการขยายขนาด พบการบวมน้ำ และถูกคลุมด้วยวุ้นรอบต่อมเบอร์ซ่า (ภาพที่ 4)

ภาพที่ 4 ต่อมเบอร์ซ่าที่ถูกคลุมด้วยวุ้น

      เชื้อไวรัสกัมโบโรมีความสามารถในการทำลายเม็ดเลือดขาว และความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในต่อมเบอร์ซ่า ซึ่งพบบ่อย ๆ ว่าเชื้อกัมโบโรทำให้เกิดการอักเสบของต่อมเบอร์ซา (ภาพที่ 5)
 

ภาพที่ 5 พบการอักเสบของต่อมเบอร์ซ่า

     วิการของกัมโบโร ในระยะต่าง ๆ ตั้งแต่พบสภาพเลือดออกที่ต่อมเบอร์ซาไม่รุนแรงจนถึงพบการอักเสบอย่างรุนแรงของต่อมเบอร์ซ่า(ภาพที่ 6)

 

ภาพที่ 6 สภาพเลือดออกที่ต่อมเบอร์ซ่า (ซ้าย) และการอักเสบอย่างรุนแรงของต่อมเบอร์ซ่า (ขวา)

     อัตราการป่วยค่อนข้างสูง และสามารถสูงถึง 100% อัตราการตายอยู่ที่  20 - 30% ระยะของการเกิดโรคอยู่ที่  5 - 7 วัน และอัตราการตายสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงกลางของการเกิดโรค ในบางราย ต่อมเบอร์ซ่าจะเต็มไปด้วยหนองแข็งซึ่งพบบ่อย ๆ (ภาพที่ 7)

 

ภาพที่ 7 พบก้อนหนองแข็งภายในต่อมเบอร์ซ่า

    ในไก่ที่รอดจากการติดเชื้อระยะเฉียบพลัน ต่อมเบอร์ซ่าจะพัฒนาสู่ระยะที่มีการฝ่อ ลักษณะทางจุลภาค พบการฝ่อของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองภายในต่อมเบอร์ซ่า แทนที่การอักเสบของเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ไตที่ได้รับผลกระทบของการติดเชื้อจะพบการคั่งของยูเรตในเนื้อไต (ภาพที่ 8 )

ภาพที่ 8 ไตของไก่ที่ป่วย โดยพบไตบวม และมีการคั่งของยูเรตในเนื้อไต

     ในกรณีที่พบโรคอย่างเฉียบพลัน และมีอาการของโรคที่ชัดเจน การวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างง่าย ควรจะทำการยืนยันการวินิจฉัยโดยการผ่าซากพิสูจน์วิการและตรวจทางพยาธิกายวิภาคร่วมด้วย (pathoanatomical study) โรคกัมโบโรจะต้องวินิจแยกแยะกับโรค IBH (inclusion body hepatitis) ด้วยการทำวัคซีนเชื้อเป็นในไก่เป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันโรคกัมโบโร และควรจะสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่

(ที่มา: "Diseases of poultry - A colour atlas" - Ivan Dinev & CEVA Santé Animal, 2010)

กลับสู่ด้านบน