โรคนิวคาสเซิล Newcastle's Disease (ND)        โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคที่ก่อความเสียหายเป็นอย่างมากในสัตว์ปีกทั้งในไก่บ้าน ไก่สวยงาม และนกป่าต่าง ๆ ความเสียหายมีความสัมพันธ์กับอวัยวะเป้าหมายของเชื้อแต่ละตัว และมีลักษณะเฉพาะโดยมีความหลากหลายในเรื่องของอัตราการป่วย...

โรคนิวคาสเซิล Newcastle's Disease (ND) 

     โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคที่ก่อความเสียหายเป็นอย่างมากในสัตว์ปีกทั้งในไก่บ้าน ไก่สวยงาม และนกป่าต่าง ๆ ความเสียหายมีความสัมพันธ์กับอวัยวะเป้าหมายของเชื้อแต่ละตัว และมีลักษณะเฉพาะโดยมีความหลากหลายในเรื่องของอัตราการป่วย อัตราการตาย กลุ่มอาการและวิการของโรค สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสพารามิกโซไวรัส ไก่ทุกอายุสามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้ ลักษณะกลุ่มวิการการที่พบสามารถจำแนกออกเป็น  2 กลุ่มคือ กลุ่มที่แสดงอาการทางอวัยวะภายใน และแสดงอาการทางประสาท

    กลุ่มที่แสดงอาการทางอวัยวะภายใน พบการลอกหลุดและมีเลือดออกของผนังทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงรูทวาร จุดเลือดออกของผนังกระเพาะแท้เป็นจุดที่เป็นที่สังเกตของโรคนี้ (ภาพที่ 1) นอกจากนี้ยังพบการบวมน้ำของผนังเยื่อบุกระเพาะแท้ คลุมด้วยเมือกหนา (ภาพที่ 2) และพบจุดเลือดกระจายในระดับที่แตกต่างกัน (ภาพที่ 3) บางครั้งพบวิการที่ขอบของกระเพาะแท้ หรือหลอดอาหาร

ภาพที่ 1 พบจุดเลือดออกที่ผนังกระเพาะแท้

ภาพที่ 2 พบการบวมน้ำของผนังเยื่อบุกระเพาะแท้ คลุมด้วยเมือก

ภาพที่ 3 พบเมือกคลุมที่ผนังกระเพาะแท้ และมีจุดเลือดออกกระจายเป็นจุด

     อาการที่พบบ่อย ๆ ของกลุ่มนี้คือ พบเนื้อตายที่มีเลือดออก และตุ่มที่ผนังช่องปาก (ภาพที่ 4) กระเพาะและลำไส้ (ภาพที่ 5) ปกติโรคนี้มีความชุกสูงในไก่ระยะไข่ พบน้อยในไก่งวง นกหายาก และนกป่า

ภาพที่ 4 พบเนื้อตายปนเลือด และตุ่มที่ผนังช่องปาก

ภาพที่ 5 พบเนื้อตายปนเลือดและตุ่มที่ผนังกระเพาะและลำไส้

      การจำแนกสเตรนความรุนแรงของเชื้อไวรัสนั้นขึ้นอยู่กับพยาธิกำเนิดต่อตัวอ่อนของลูกไก่ โดยจำแนกเป็น สเตรนอ่อน (Lentogenic) สเตรนแรงปานกลาง (Mesogenic) และ สเตรนแรง (Velogenic) วัคซีนที่ผลิตมาจากเชื้อสเตรนอ่อนนั้นสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในระยะสั้นเท่านั้นทำให้ต้องมีการทำวัคซีนซ้ำ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อสเตรนแรงปานกลางจะให้ภูมิคุ้มกันที่ยาวนานกว่า แต่สามารถทำให้เกิดการตายได้โดยเฉพาะในฝูงที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน บ่อยครั้งที่พบว่ามีการขยายขนาดและมีเลือดออกที่ต่อมทอนซิลในไส้ตัน (ภาพที่ 6) และบริเวณทวาร (ภาพที่ 7) ปกติอาการเหล่านี้เริ่มจากเนื้อเยื่อน้ำเหลืองของผนังเยื่อก่อน

ภาพที่ 6 การขยายใหญ่และมีเลือดออกที่ส่วนของต่อมทอนซิลในไส้ตัน

ภาพที่ 7 พบเลือดออกที่บริเวณทวาร

     ถ้าพบการติดเชื้อไวรัสในไข่ฟักแล้วจะส่งผลทำให้ตัวอ่อนตาย และฟักไม่ออก เชื้อไวรัสที่ขับออกมาจากไก่ที่ป่วยสามารถอยู่ได้ในอาหาร น้ำ และสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแหล่งของการติดเชื้อได้ เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านทางการกิน อากาศ และการสัมผัส ไม่พบการเป็นพาหะของเชื้ออย่างถาวร ปัจจัยที่สำคัญในการติดต่อของเชื้อไวรัสก่อโรคจะมาจากนกนำเข้าต่างประเทศ และไก่ชน อัตราการตายสามารถสูงถึง 70 - 100%.

    กลุ่มแสดงอาการทางระบบประสาท (The neurotropic form)ไก่แสดงอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีอาการคอบิด (ภาพที่ 8) มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ และอัมพาตของขา อาการกลุ่มนี้พบบ่อยว่าเกิดควบคู่กับอาการทางระบบทางเดินหายใจ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา จะเป็นการอักเสบแบบไม่มีหนอง พบลิมโฟไซต์แทรกอยู่ในเซลล์ของสมอง

ภาพที่ 8 ไก่แสดงอาการทางประสาทโดยมีอาการคอบิด 

(ที่มา: "Diseases of poultry - A colour atlas" - Ivan Dinev& CEVA Santé Animal, 2010)

กลับสู่ด้านบน